การอธิบายสเปกตรัมของการแผ่รังสีของวัตถุดำ[2][3] ของ การแผ่รังสีของวัตถุดำ

การแผ่รังสีของวัตถุดำเป็นการแผ่รังสีที่มีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งความถี่ของสเปกตรัมนั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของวัตถุซึ่งสามารถอธิบายได้จาก Planck spectrum หรือ กฎของพลังค์ (Planck's law) สเปกตรัมที่ตำแหน่งจุดสูงสุดจะมีความถี่เฉพาะตัวโดยจะเปลี่ยนเป็นค่าความถี่สูงสุดตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ

เนื่องจากทฤษฎีฟิสิกส์แบบเดิมไม่สามารถอธิบายการแผ่รังสีของวัตถุที่เกิดขึ้นได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1900 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันที่ชื่อว่า แมกซ์ พลังค์ ได้นำเสนอได้นำเสนอทฤษฎีที่ใช้อธิบายการแผ่รังสีของวัตถุดำที่เกิดขึ้นในการทดลอง โดยได้นำเสนอแนวคิดว่า รังสีที่แผ่ออกมาจากวัตถุดำเกิดจากการที่อนุภาคในวัตถุนั้นสั่นด้วยความถี่ที่ขึ้นอยู่กับพลังงานของวัตถุ โดยพลังงานที่เกิดจากการสั่นจะมีค่าไม่ต่อเนื่องแต่จะเป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่มูลฐานเช่นเดียวกับคลื่นนิ่งที่เกิดจากการสั่นในเชือก ซึ่งสมการที่ใช้อธิบายแนวคิดของพลังค์มีใจความว่า

Planck in 1918, the year he received the Nobel Prize in Physics for his work on quantum theory E = n h ν {\displaystyle E=nh\nu }

โดยที่

E {\displaystyle E} คือพลังงานของการแผ่รังสีของวัตถุ n {\displaystyle n} คือจำนวนเต็มบวกใดๆ เรียกว่า เลขควอนตัม h {\displaystyle h} คือค่าคงที่ของพลังค์ (มีค่าเท่ากับ 6.626   069   3 ( 11 ) × 10 − 34   J ⋅ s {\displaystyle 6.626\ 069\ 3(11)\times 10^{-34}\ {\mbox{J}}\cdot {\mbox{s}}} ) ν {\displaystyle \nu } คือความถี่ของคลื่นแสง

ทำให้ภายหลังมีนักวิทยาศาสต์ท่านอื่นนำแนวคิดจากทฤษฎีที่พลังค์นำเสนอไปใช้อธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ ในระดับอนุภาคได้ เช่นการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก การกระเจิงคอมตันป์ เรียกได้ว่า แมกซ์ พลังค์ ถือเป็นบิดาของวิชาควอนตัมที่ให้กำเนิดวิชาควอนตัมที่ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ในระดับอนุภาคที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง

ใกล้เคียง

การแผ่ขยายของการปรับตัว การแผลงเป็นไทย การแผลงเป็นอังกฤษ การแผ่รังสีของวัตถุดำ การแผ่รังสีนิวตรอน การแผ่รังสี การแผ่รังสีซิงโครตรอน การแผ่รังสีฮอว์กิง การแผ่รังสีความร้อน การแผลงเป็นอเมริกัน